"ละลุ"
สถานที่ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์และข้อมูลที่คุณอาจไม่รู้
ในสมัยก่อนเขาจะเรียกกันว่า "ลาลู"
ซึ่งเป็นภาษาเขมรแปลว่า "โป่งยุบ" พอหลังจากนั้นก็มีคนไทยเริ่มย้ายเข้ามามากยิ่งขึ้นก็มีเรียกกันว่า
"ทะลุ" เพราะดินมันทะลุเป็นรู ซึ่งก็เลยติดการออกเสียงขึ้นมาเป็น
"ละลุ" จนถึงปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ทีมงานได้ข้อมูลมาเกี่ยวกับละลุทำให้รู้สึกยิ่งน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
เพราะข้อมูลของละลุทั่วไปคือ สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
แต่ ละลุ ยังมีเรื่องเล่าที่มากกว่านี้ คือความเป็นมาที่หลายคนอาจไม่ทราบ
ซึ่งบทความนี้ทางทีมงานคิดอยู่นานว่าจะเขียนดีหรือไม่ แต่ทุกสถานที่ย่อมมีประวัติความเป็นมา
ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เมื่อเราเดินเดินทางท่องเที่ยวหรือมีโอกาสได้ไปสัมผัสสถานที่ต่างๆ
ก็เรียนรู้เพื่อเป็นความรู้ต่อๆ ไป

จากการบอกเล่าของชาวบ้านที่ทางทีมงานได้เก็บข้อมูลมาคือ
ณ พื้นที่ ละลุ แห่งนี้ น่าจะเกิดขึ้นมาหลายพันปีก่อนหน้านี้แล้ว
ซึ่งหน้าจะอยู่ช่วงยุค "ทวารวดี" เมื่อหลายพันปีก่อน
เป็นเมืองที่เจริญมาแล้วและเกิดการล้มสะลายไป เพราะสิ่งที่ชาวบ้านพบเห็นคือ
ศพมากมายที่ถูกขุดพบขึ้นมา แต่ในตัวละลุที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไม่มีการเจอศพนะคับ
แต่บริเวณรอบๆ ที่เป็นด้านของภูเขา มีการขุดเจอศพจำนวนมาก
ซึ่งเชื่อว่าเมื่อมีคนเสียชีวิตก็จะขุดดินและฝังตรงนั้นเลย
ไม่เพียงศพคนเท่านั้นแต่ยังขุดพบเจอกระดูกของสัตว์ที่เป็นพาหนะ
เช่น วัว, ช้าง รวมไปถึง แรด อีกด้วย นอกจากนั้นก็จังเจอภาชนะต่างๆ
เช่นถ้วย, ชาม, มีด เป็นต้น และ ลูกปัด ที่เชื่อว่าเป็นของมีค่าในสมัยก่อนและยังเป็นสิ่งที่ใช้แทนเงินตราในสมัยนั้น
ซึ่งเชื่อกันว่าลูกปัดเป็นสิ่งที่มาจากฟ้า หรือในสมัยนี้ก็คือสเก็ดดาวที่ตกมาจากฟ้าที่เกิดการเผาไหม้บนชั้นบรรยากาศไม่หมด
ซึ่งคนสมัยก่อนเชื่อว่าเป็นของมีค่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่เทพประทานมาให้

ผมไม่มีข้อมูลว่าทำไมบริเวณรอบนอกที่เป็นภูเขาด้านนอกของละลุจึงได้พบเจอศพมากมายในทางวิทยาศาสตร์
แต่ผมมีข้อมูลในเรื่องของความเชื่อที่ได้มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้าน
ซึ่งอันนี้จริงหรือไม่จริงก็ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ แต่เป็นข้อมูลความเชื่อที่เล่าต่อๆ
กันมาว่า ในสมัยก่อนมีคนนั่งทางในเห็นว่า เมืองที่อยู่บริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า
"โกสะนคร" เป็นเมืองหมอยาที่มีความเจริญมาก เป็นเมืองที่เมื่อมีคนเจ็บหรือคนป่วยจากเมืองอื่นๆ
ที่ไม่มีที่รักษาก็จะเดินทางมายังเมืองแห่งนี้ ด้วยเกวียน
ด้วยม้า และทางเรือ เพื่อมารักษา เพราะเป็นเมืองที่เจริญกว่าเมืองอื่นๆ
ดังนั้นจึงมีคนเดินทางมายังเมืองแห่งนี้จำนวนมาก ในช่วงเวลาเดินทางอยู่ก็จะมีคนตายด้วยโรคเป็นจำนวนมาก
หรือ รักษาไม่หายก็ตายไปเป็นจำนวนมาก เขาก็จะขุดหลุมและฝังเป็นหลุมๆ
ไป ซึ่งจากการบอกเล่าว่า การพบศพก็จะมีเนื้อที่กินไป 50 ไร่บ้าง
100 ไร่บ้าง ดังนั้นพื้นที่บริเวณรอบๆ ของละลุ ไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเท่านั้นแต่เป็นสถานที่
ที่มีเรื่องเล่า มีวิถีชีวิตความเชื่อของช่าวบ้านบริเวณนี้รวมเข้าเอาไว้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ผมเขียนมาบอกเล่า มิใช่เพื่อให้เกิดความงมงายแต่อย่างใด
แต่ทุกสถานที่ย่อมมีประวัติ มีเรื่องเล่า มีความเป็นมาที่แตกต่างกัน
ดังนั้นการท่องเที่ยวสำหรับผมคือการได้รู้ ได้เห็น ได้ฟัง
และได้สัมผัส เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเรื่องไหนจิงหรือไม่จิง
แต่สิ่งที่เป็นเสน่ห์ของเรื่องเล่าจากผู้หลักผู้ใหญ่คือ ความสนุกและการได้รับรู้เรื่องนั่นเอง.....


 |
พระสยามเทวาธิราชจำลอง
อยู่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภออรัญประเทศ
มีความสูง 1.29 เมตร
เป็นรูปจำลองพระสยามเทวาธิราช สร้างโดยพระอุทัยธรรมธารี
เจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ
เมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมาราษฎรได้ร่วมกันสร้างบุษบกเป็นที่ประทับ
โดยประกอบ
พิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2528 |
 |
สระแก้ว
สระขวัญ อำเภอเมือง จ.สระแก้ว
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง
ในสวนสาธารณะสระแก้ว สระขวัญ ใกล้กับสำนักงานเทศบาล
เมืองสระแก้ว ถนนสุวรรณศร ประมาณ กม.ที่ 246-247) เข้าซอยเทศบาล
2
เชื่อกันว่าน้ำในสระแห่งนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ |
 |
ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก
(ตลาดโรงเกลือ) อำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ตลาดชายแดนบ้านคลองลึกหรือตลาดโรงเกลือ เป็นตลาดการค้าใหญ่ที่สุด
และสำคัญของพรมแดนแถบนี้อยู่ทางฝั่งไทย ร้านค้าในตลาดสร้างเป็นแบบ
โรงเรือนแบ่งเป็นห้อง ๆ สินค้าส่วนใหญ่มาจากหลายถิ่น เช่น
กัมพูชา จีน
เกาหลี ฮ่องกง หรือเป็นสินค้าของไทย |
 |
ปราสาทเขาน้อยสีชมพู อำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ตั้งอยู่ในวัดเขาน้อย
(สีชมพู) ตำบลคลองน้ำใส ห่างจากตัวอำเภออรัญประเทศ
ไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร โบราณสถานตั้งอยู่บนยอดเขาน้อย
ซึ่งเป็นเขาหินปูนสูงจากพื้นประมาณ 130 เมตร มีบันไดทางขึ้น
254 ขั้น |
 |
ประตูชัยอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว
ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนไทย-กัมพูชา
ที่บ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม สร้างในปี พ.ศ. 2482
มีลักษณะเป็นป้อม 2 ป้อม อยู่กันคนละฟากถนน โดยป้อมด้านซ้ายมือรักษารูปลักษณ์เดิมไว้
เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารกล้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการสู้รบบริเวณชายแดนด้านคลองลึก |
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อบต.หนองม่วง โทรศัพท์
037- 441 982 หรือ
สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว |